บอกต่อลักษณะเด่นของ pressure gauge หากใช้งานแล้วต้องรู้จัก
ไหนใครต้องทำงานด้านอุตสาหกรรม ประปา หรืองานใดก็ตามที่เป็นของเหลวต้องท่อเข้าช่วย ก็คงต้องเคยเห็นเกี่ยวกับ pressure gauge หรือเกจวัดความดันไม่มากก็น้อย แต่ถ้าใครไม่เคยรู้จักมาก่อน อยากรู้ว่ามันมีลักษณะเด่นอย่างไร ช่วยเรื่องอะไร เอาเป็นว่าลองไปศึกษาพร้อมกันกับเรากันดีกว่า เพราะวันนี้เราจะมาบอกรายละเอียดต่อกันแบบหมดเปลือกไปเลย
ลักษณะเด่นของ pressure gauge ที่คนใช้งานต้องรู้จัก
ต้องอธิบายให้เข้าใจไว้ก่อนเลยว่า pressure gauge หรือเกจวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยควบคุม รวมถึงวัดค่าความดันสูง – ต่ำของเครื่องมือ เครื่องจักร รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำงานในด้านอุตสาหกรรม ประปา ก๊าซ หรือที่เกี่ยวกับของเหลวที่ต้องวัดค่าต่าง ๆ เพื่อให้รู้ถึงสถานะการทำงานของแต่ละเครื่องว่าเป็นอย่างไรแล้ว โดยทุกคนสามารถอ่านค่าได้ที่หน้าปัด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นวงกลมที่คล้ายกับหน้าปัดของนาฬิกา มีตัวเลข มีเข็ม และมีขีดหน่วยวัดค่าคอยชี้ให้เรารู้ ทั้งส่วนท้ายมีลักาณะเป็นข้อต่อเกลียว บางรุ่นทำเป็นฐานเพื่อใช้ต่อเข้ากันอุปกรณ์ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันอยากบอกว่า pressure gauge มีให้เราเลือกทั้งที่เป็นแบบดิจิตอล และแบบอนาล็อก ที่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งปกติแล้วจะมีค่าหน่วยวัดที่นิยมใช้งาน และต้องเจอกันเป็นประจำ เช่น
- PSI หรือปอนด์ต่อตารางนิ้ว
- Bar บาร์ (ระบบ SI)
- mmH2o มิลลิเมตรน้ำ
- mmg มิลลิเมตรปรอท
- Kgf/cm2 หรือหน่วยกิโลกรัม แรงต่อตารางเซนติเมตร คนไทยนิยมเรียกว่ากิโล
- Pa (pascal ระบบเมติก) อาจพบเป็น kpa หรือ mpa
เลือก pressure gauge ให้ตรงกับลักษณะเด่นการใช้งาน
- เกจวัดแรงดันแบบอนาล็อก ข้อดีคือจะมีราคาที่ถูก ไม่ต้องบำรุงรักษาดูแลมากก็ยังคงทน โดยจะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท
- เกจวัดแรงดันอนามล็อกแบบมีน้ำมัน มีควาทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนสูง เพราะน้ำมันมีส่วนช่วยให้การสั่นสะเมือนน้อยลง สามารถอ่านค่าได้ดี ไม่ทำให้เข็มอ่านหัก
- เกจวัดแรงดันแบบอนาล็อกปกติ ที่ราคาค่อนข้างถูก และรับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่ค่อยสูงมาก
- เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล มีราคาสูงกว่าอนาล็อก มีความแม่นยำมากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง หลายรุ่นสามารถเชื่อต่อข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์ได้ด้วย ทำให้อ่านค่าจากระยะไกลได้
ลักษณะเด่นของ pressure gauge มีอยู่แตกต่างกันออกไป เราควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างถ้าต้องการวัดน้ำมันควรเลือกช่วงวัดสูง ถ้าวัดน้ำและลมให้เลือกย่านวัดต่ำเพราะมีความละเอียดสูง ถ้าต้องใช้วัดสารกัดกร่อนก็ควรเลือกที่ตัวเรือนแข็งแรง ทนทานต่อการสึกกร่อนได้ดี เพราะไม่อย่างนั้นก็จะชำรุดได้ง่าย ๆ ซึ่งเราก็หวังว่าทุกคนจะเข้าใจ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น