“เกจวัดแรงดัน” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อควบคุมและนำไปวัดค่าแรงดันทั้งสูง – ต่ำกับงานในภาคอุตสาหกรรม กระนั้นหลายคนก็ยังแอบมีความสงสัยถึงการใช้งานโดยเฉพาะมือใหม่หัดใช้งานที่ควรต้องศึกษาอย่างที่สุด ว่าแล้วก็ขอพาไปศึกษาเลยดีกว่า เพราะบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาแนะนำให้อย่างเจาะลึกเกี่ยวกับการใช้งานโดยตรง
อย่างที่ต้องเข้าใจว่า “เกจวัดแรงดัน” เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม หรืองานระบบชลประทาน เครื่องยนต์ โดยที่ต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อควบคุม และวัดค่าแรงดันทั้งสูง – ต่ำในงานนั้น ๆ ซึ่งจะมีค่าแสดงออกมาเป็นหน่วยต่าง ๆ ทำให้เราสามารถอ่านค่าได้ และทราบถึงสถานะที่กำลังใช้งาน ณ ขณะนั้น ซึ่งลักษณะหน้าปัดก็จะเป็นทรงกลม มีตัวเลขเรียงเหมือนนาฬิกา มีขีดหน่วยวัดค่าอื่น ๆ และส่วนท้ายที่เป็นข้อต่อ บางรุ่นมีฐานสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ได้ ปัจจุบันแบ่งออกประเภทย่านวัดที่มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
– ช่วงแรงดันปกติ หรือ Pressure gauge ยกตัวอย่าง (0-10Bar)(0-140psi)
– ช่วงติดลบหรือสูญญากาศ หรือ Vacuum gauge ยกตัวอย่าง (-760mmhg-0bar)
ช่วงติดลบหรือสุญญากาศ ถึงช่วงแรงดันปกติ หรือ Compound gauge ยกตัวอย่าง (-760 mmhg-5 Bar)
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้งานจำเป็นต้องดูที่ความเหมาะสม ซึ่งปกติแล้วเกจวัดแรงดันจะแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบอนาล็อก และแบบเกจดิจิตอล
– แบบอนาล็อก (แบบเข็ม) มีราคาที่ถูกกว่า และไม่ต้องดูแลรักาอะไรมาก ปกติแล้วจะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ แบบวัดปกติมีข้อดีคือราคาถูก แต่ก็รับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่มาก กับแบบมีน้ำมันคือจะค่อนข้างทนทานกว่า เหมาะกับแรงสั่นสะเทือนสูง ด้วยความที่มีน้ำมันมาช่วยลดการสั่นสะเทือนนั่นเอง สามารถผ่านค่าการสั่นสะเทือนได้สูง ทั้งซับแรงทำให้เข็มอ่านค่าไม่หัก
– แบบดิจิตอล ราคาสูงกว่า และมีความแม่นยำมากกว่า เหมาะกับทุกงานที่ต้องใช้ความแม่นยำ ทั้งนี้ บางรุ่นยังสามารถนำไปเชื่อมกับคอมพิวเตอร์อ่านค่าในระยะไกลได้ไปอีก
ในส่วนของการเลือกพิจารณาใช้งานจำเป็นต้องดูที่ความเหมาะสมของการนำไปใช้ด้วยโดยต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ตรงกับงาน วัดการกัดกร่อน วัดน้ำมัน หรือสารเคมีใด ๆ คือเลือกต่างกันหมด ทั้งต้องดูเรื่องบประมาณด้วย และอย่าลืมเรื่องคุณสมบัติพิเศษที่มีให้ อย่าง ระบบล็อครหัสพิเศษ หรือการป้องกันสั่นสะเทือนเพิ่มเติม เป็นต้น
และทั้งหมดนี้ก็เป็นการแนะนำถึงการใช้งานเกจวัดแรงดันที่เราควรต้องรู้ เพื่อให้ทั้งการเลือกใช้งานและการใช้งานกับงานนั้น ๆ ตอบโจทย์ และผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขนาดหน้าปัดก็จะมีแตกต่างกันออกไป เลือกได้ตั้งแต่ 1-1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว 2-1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว 3-1/2 นิ้ว, 4 นิ้ว ไปถึงสูงสุดขนาดหน้าปัดอยู่ที่ 6 นิ้ว