ต้องบอกเลยว่าในแวดวงอุตสาหกรรม หรือการประปา หรืองานใดก็ตามที่มีของเหลวมาเกี่ยวข้อง จำเป็นต้องรู้จักเกจวัดแรงดัน หรือ pressure gauge ไม่มากก็น้อย ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ ขาดไม่ได้เลยจริง ๆ ทว่าบางคนเพิ่งจะเข้ามาทำให้ยังรู้จักไม่มากพอ เกิดความสงสัยโดยเฉพาะเรื่องของประโยชน์ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง? วันนี้เราจึงไม่รอช้ารวบรวมข้อมูลมาบอกต่อ ว่าแล้วก็ไปไขข้อข้องใจกันเถอะ
ประโยชน์ของการเลือกใช้ เกจวัดแรงดัน หรือ pressure gauge นั้น จริง ๆ แล้วก็ไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะเครื่องนี้จะช่วยในเรื่องของการวัดค่าแรงดันที่ต้องใช้ร่วมกับการทำงานของเหลวต่าง ๆ ที่ต้องการวัดค่าอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะ น้ำ แก๊ส สารเคมี ลม กรด น้ำมัน ฯลฯ เพราะหากค่าผิดพลาดไปแม้แต่นิดเดียว คุณภาพของงานก็จะลดลงได้ง่าย ๆ จึงค่อนข้างมีประโยชน์ต่อแวดวงอุตสาหกรรมอย่างที่สุด
ซึ่งเครื่องจะบอกค่ามาให้ตลอดเวลาที่กำลังทำงาน หน้าปัดมีให้เลือกหลากหลายขนาดตั้งแต่ 1-1/2 นิ้ว, 2 นิ้ว 2-1/2 นิ้ว, 3 นิ้ว 3-1/2นิ้ว, 4 นิ้ว สูงสุดไปถึงขนาดหน้าปัด 6 นิ้วเลยด้วย มีตัวเลข มีเข็มชี้ ทำให้เห็นได้แบบเต็ม ๆ ทั้งนี้ เราไม่ต้องคอยเดินไปดูเครื่องให้เสียเวลาด้วย เอาเวลาไปตรวจสอบดูแลอย่างอื่นงานดำเนินได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นไปอีก แต่กระนั้นต้องศึกษาประเภทของเครื่องด้วย เพราะปัจจุบันมีให้เลือกเยอะมาก
เกจวัดแรงดัน หรือ pressure gauge เป็นเครื่องที่ช่วยวัดค่าต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ แบ่งออกเป็นประเภทดิจิตอล และอนาล็อก โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ
1. แบบดิจิทัล จะมีราคาที่สูง แต่ค่อนข้างแม่นยำที่สุดแล้ว เหมาะกับงานที่เคร่งเรื่องความแม่นยำที่สุด ทั้งนี้บางรุ่นยังสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปที่คอมพิวเตอร์แล้วอ่านค่าจากทางไกลมาสั่งงานได้ด้วย
2. แบบอนาล็อก หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่าแบบเข็ม มีข้อดีตรงที่ราคาถูกกว่า และไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก แบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 ประเภทให้เลือก คือ
แบบอนาล็อกปกติ : ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับรุ่นเดี่ยวกัน แต่จะไม่สามารถรับแรงสั่นสะเทือนรุนแรงได้
แบบน้ำมัน : จะมีความทนทานมาก ๆ เมืม่อทเยบกับรุ่นอื่น ๆ ด้วยความที่น้ำมันมาลดความสั่นสะเทือน ทำฝห้อ่านค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมซับแรงทำให้เข็มปลอดภัย เหมาะกับงานที่มีค่าสั่นสะเทือนสูง
ในการเลือกซื้อเกจวัดแรงดัน หรือ pressure gauge มาใช้งานนั้น อยากให้เน้นไปที่ความเหมาะสมกับงานที่จะทำ อย่างงานน้ำมันควรเลือกที่ชาวงวัดสูง, ใช้วีดน้ำ หรือบท ให้เลือกย่านวัดต่ำ ความละเอียดสูง หรือใช้วัดสารเคมีกัดกร่อนง่าย ควรดูที่ตัวเรือนที่ทำแนะนำว่าวัสดุควรมีความแข็งแรง ทนต่อการใช้งานที่ต้องถูกสารกัดกร่อน